16 ก.ย. 2559

วิตามินซีสังเคราะห์(สีส้ม) กับ วิตามินซีธรรมชาติ(สีเหลือง) ต่างกันอย่างไร????

วิตามินซีสังเคราะห์(สีส้ม) กับ วิตามินซีธรรมชาติ(สีเหลือง) ต่างกันอย่างไร????
วิตามินซีสังเคราะห์
วิตามินซีสังเคราะห์ (Synthetic Vitamin C) ได้จากกระบวนการทางเคมี วิตามินซีจะสูญสลายได้ง่ายจากกระบวนการออกซิเดชั่น
วิตามินซีธรรมชาติ
วิตามินซีธรรมชาติ (Natural Vitamin C) ได้จากผักและผลไม้ต่างๆ มีส่วนประกอบของไฟโตนิวเทรียนท์กลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินซีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และสามารถป้องกันการถูกทำลายโดยกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ (Citrus Bioflavonoid)
จะมีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยและช่วยการดูดซึมวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม จากรายงานการศึกษาทดลองในคน ยังไม่พบรายงานว่าวิตามินทั้ง 2 ประเภทนี้ให้ผลของชีวประสิทธิผลที่ต่างกัน ดังนั้น การรับประทานวิตามินซีจากธรรมชาติ หรือวิตามินซีสังเคราะห์ ร่างกายจะได้รับวิตามินซีในปริมาณที่ไม่ต่างกัน
วิตามินซีสังเคราะห์ กับ วิตามินธรรมาติต่างกันอย่างไร???
การดูดซึมและการขับวิตามินซีออกจากร่างกาย
วิตามินซีเป็นสารที่มีความไวต่ออากาศ แสง ความร้อน ดังนั้น หากเก็บผักและผลไม้ไว้เป็นเวลานาน ปริมาณวิตามินซีก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ถึงแม้วิตามินซีจะเป็นวิตามินละลายน้ำที่ดูดซึมได้ง่าย แต่ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์หรือสะสมไว้ใช้ในร่างกายได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่เราต้องได้รับวิตามินซีทุกวัน
วิตามินซีเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน เมื่อรับประทานวิตามินซีเข้าไปจะถูกส่งผ่านผนังทางเดินอาหารและจะถูกดูดซึมในบริเวณลำไสเล็ก 30
สารย่อยสลาย (Metabolites) ของวิตามินซีในร่างกาย จะมีอยู่ 3 ตัว ได้แก่ Dehydroascorbic 2, 3-Diketogulonic Acid และ Oxalic Acid ร่างกายจะขับสารเหล่านี้ออกทางไตเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้ว ไม่พบรายงานเรื่องวิตามินซีกับภาวะเป็นพิษ แต่หากรับประทานในขนาดสูง 2-6 กรัมต่อวัน อาจก่อให้เกิดอาการมวนท้อง ท้องเสียได้ 18,19
การดูดซึมและการขับวิตามินซีออกจากร่างกาย - 1
ภาวะการขาดวิตามินซี (VITAMIN C DEFICIENCY)
โรคลิกปิดลักเปิด (Scurvy) มักเกิดขึ้นหลังจากขาดวิตามินซีนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนซึ่งจะมีอาการเลือดออกง่าย ผิดปกติ อาจแสดงออกมาในรูปจ้ำเลือด จุดเลือดออก (Petechiae) เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในข้อ ปวดกระดูก กระดูกพรุน บวม หรือหัวใจโต 20 โดยระยะแรก อาการมักไม่เฉพาะเจาะจง คือ มีอาการรู้สึกไม่สบาย เพลียอ่อนแรง ระยะต่อมาจะมีอาการมากขึ้น คือ พบจุดเลือดออก 21 หากดูให้ดีจะพบว่า อาการจ้ำเลือด เลือดออกง่ายต่างๆ เกี่ยวกับความไม่แข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ของหลอดเลือดอันเนื่องมาจากคอลลาเจนที่ผิดปกติ
ส่วนอาการอ่อนเพลียนั้นมีสาเหตุมาจากปริมาณคาร์นิทีน (Carnitine) ที่ลดลง ซึ่งคาร์นิทีนเป็นสารที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญพลังงานจากไขมันและจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทกลุ่มนอร์อิพิเนฟฟริน
(Norepinephrine) ภาวะการขาดวิตามินซีจะพบเมื่อร่างกายมีวิตามินซีน้อยกว่า 10 มิลลิกรัมต่อวัน และอาการของโรคจะปรากฏขึ้น ภายใน 1 เดือน
ข้อต่อ....ในร่างกายเสื่ยมประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลต่อ"ข้อต่อ"
ในร่างกายเนื่องจากการสังเคราะห์คอลลาเจนเสื่ยมลง มีผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งทำหน้าที่ยึดกระดูกให้ติดกัน ดังนั้น ข้อต่อจึงเคลื่อนไหวได้น้อยมากหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ภาวะการขาดวิตามินซี (Vitamin C Deficiency)
ผลไม่พึงประสงค์ของวิตามินซี
อาการระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเดินหรือปวดท้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของวิตามินซีที่รับประทานเข้าไป หากมีอาการดังกล่าว จำเป็นต้องพิจารณาลดปริมาณวิตามินซีในแต่ละมื้อลง ควรแบ่งรับประทานหลายๆ มื้อระหว่างวันแทน และแนะนำให้รับประทานพร้อมมื้ออาหารหรือพิจารณารับประทานวิตามินซีในรูปแบบออกฤทธิ์นาน (Sustained Release) ซึ่งจะช่วยลดภาวะเป็นกรดและลดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวได้
นิ่วในไต การรับประทานวิตามินซีมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่วในไตโดยจะไปเพิ่มการขับสารที่เรียกว่า ออกซาเลต (Oxalate) งานวิจัยบางฉบับพบว่าการรับประทานวิตามินซีมีผลเพิ่มระดับ Oxalate ในปัสสาวะได้ 22-27 อย่างไรก็ดี งานวิจัยเหล่านี้ไม่ได้มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของระดับ Oxalate ที่เพิ่มขึ้นกับอุบัติการณ์ของ
การเกิดนิ่ว จากงานวิจัย พบว่า *****การบริโภควิตามินซีมากกว่าวันละ 1,500 มิลลิกรัม ไม่มีผลต่อการก่อให้เกิดนิ่วในไตแต่อย่างใด***
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่บริโภค
วิตามินซีน้อยกว่า 250 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม การพิจารณาให้วิตามินซีขนาดสูงกว่า 1,000 มิลลกรัมต่อวัน ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นนิ่วในไตอยู่แล้ว ควรพิจารณาใช้อย่างระมัดระวังหรือปรึกษาแพทย์
ผลไม่พึงประสงค์ของวิตามินซี
ปฏิกิริยาของวิตามินซีกับยาและแร่ธาตุต่างๆ
ปฏิกิริยาของวิตามินซีกับยาและแร่ธาตุต่างๆ
ยาแอสไพริน (Aspirin) มีผลเพิ่มระดับการขับออกของวิตามินซีและลดความเข้มข้นของวิตามินซีในเกล็ดเลือด จากการศึกษาพบว่า การรับประทานแอสไพรินสองเม็ด ทุก 6 ชั่วโมงเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ตรวจพบระดับวิตามินซีในเม็ดเลือดขาวลดลงถึง 50%


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น